|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0043,001,"[๑๓๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ในอุเทศว่า ""ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ"" ดังนี้"
|
|
30,0043,002,ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ขอทูลวิงวอน ขอเชิญ ขอให้ทรงประสาท ขอจงตรัสบอก
|
|
30,0043,003,ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า ภควา นั้น
|
|
30,0043,004,เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า พฺรูหิ เม ตํ
|
|
30,0043,005,ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ ขอจงบอก ขอจงแสดง ขอจงบัญญัติ ขอจงแต่งตั้ง ขอจง
|
|
30,0043,006,เปิดเผย ขอจงจำแนก ขอจงทำให้ตื้น ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่
|
|
30,0043,007,พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
|
|
30,0043,008,เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
|
|
30,0043,009,มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง มีเป็นอันมาก
|
|
30,0043,010,ในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญแก่เทวดาทั้งหลาย. ข้าแต่ พระผู้
|
|
30,0043,011,มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้วในทางยัญ
|
|
30,0043,012,"ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชราบ้างหรือ, ข้าแต่พระผู้มีพระภาค"
|
|
30,0043,013,ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น
|
|
30,0043,014,แก่ข้าพระองค์.
|
|
30,0043,015,[๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ)
|
|
30,0043,016,ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัย
|
|
30,0043,017,ลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย. เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่านั้น
|
|
30,0043,018,ประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่
|
|
30,0043,019,ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.
|
|
30,0043,020,[๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ
|
|
30,0043,021,ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้
|
|
30,0043,022,บุตร หวังได้ภรรยา หวังได้ทรัพย์ หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุล
|
|
30,0043,023,กษัตริย์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดีมหาศาล
|
|
30,0043,024,หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯลฯ หวัง ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพ
|
|
30,0043,025,ในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง.
|
|
30,0043,026,คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อมชมทักขิไณยบุคคลบ้าง.
|
|
|